วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

น้ำตกเอราวัณ หรือถ้าเรียกให้ถูกก็คือน้ำตกในอุทยานแห่งชาติเอราวัณนั่นเอง น้ำตกแห่งนี้เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกาญจนบุรี และเป็นหนึ่งในน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากๆ อีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุม อำเภอเมือง อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอไทรโยค โดดเด่นด้วยความสวยงามจากลักษณะของน้ำตกหินปูน น้ำที่ไหลผ่านจึงดูใสสะอาดน่าผลัดผ้าลงเล่น ซึ่งมีให้เลือกเพลิดเพลินตลอดสายของน้ำตกที่มีระยะทางถึง 1,500 เมตร ทอดยาวติดต่อกัน โดยแบ่งออกเป็นชั้น ๆ ได้ทั้งหมด 7 ชั้น แต่ละชั้นจะมีความสวยงามร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ทั้งเถาวัลย์พันเกี่ยวทอดตัวไปบนต้นไม้ใหญ่ ทั้งยังมีกล้วยไม้ป่าหลากหลายชนิดบนคาคบไม้ให้เดินชม หากใครได้มาเยือน จังหวัดกาญจนบุรี แล้วพลาดที่จะมาเที่ยวที่น้ำตกเอราวัณแห่งนี้ บางจากขอบอก

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อัมพวา-ดอนหอยหลอดเป็นสันดอนที่เกิดขั้นบริเวณปากแม่น้ำแม่กลองชายฝั่งทะเลของจังหวัดสมุทรสงคราม มีลักษณะเป็นสันดอนใหญ่ตลอดชายฝั่งทะเล อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 50 เมตร 2,000 เมตรมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 22,000 ไร่ จำนวนดอนที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีทั้งหมด 7 ดอน แต่ละดอนแยกจากกันด้วยร่องน้ำเล็ก ๆ ลึกบ้าง ตื้นบ้างดอนที่มีหอยหลอดชุกชุมมากมีจำนวน 5 ดอน ซึ่งเป็นดอนที่เกิดขึ้นนานแล้ว ความหนาแน่นของหอยหลอดบนพื้นที่ประมาณ 15,056.25 ไร่ลักษณะพื้นที่ของดอนหอยหลอดเป็น ลักษณะดินปนทราย ชาวบ้านเรียกว่า "ทรายขี้เป็ด" ซึ่งอาจนำไปใช้ถมที่ได้ แต่ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างไม่ได้หอยหลอดจะอยู่หนาแน่นบริเวณที่มีทรายประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ความหนาแน่นของหอยหลอดขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมในแต่ละปีที่เปลี่ยนแปลงไป
หมู่บ้านชาวประมงท่าฉลอม
เป็นตำบลใหญ่เรียกว่า ตำบลท่าฉลอม เป็นเขตสุขาภิบาลแห่งแรกในประเทศไทย มีผู้ประกอบอาชีพประมงเป็นจำนวนมาก มีตลาดและกิจการต่อเรือที่ตั้งเรียงรายอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน การเดินทางไปบ้านท่าฉลอม สามารถข้ามฟากที่ท่าเรือเทศบาลฝั่งมหาชัยใกล้กับศาลหลักเมือง หรือทางรถยนต์ตามเส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อเลยสี่แยกเข้าตำบลมหาชัยไปทางจังหวัดสมุทรสงคราม ประมาณ 3 กม. ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีนแล้วแยกซ้ายเข้าตำบลท่าฉลอม

ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18
จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง มีประวัติหลายอย่างทางวัถตุทางธรรมชาติกว่า100000ปีควรอนุรักษ์ไว้ไห้ลูกหลานสืบต่อไป ความสวยงาม ความเป็นอยู่ของประชากร ของชาวจ.บุรีรัมย์